การบริการวิชาการ
รายชื่อผู้มีส่วนร่วม
ชื่อ
หน้าที่
สลิตตา สาริบุตร
หัวหน้าโครงการ
กลุ่มเป้าหมาย
ประเภทเป้าหมาย
เป้าหมาย
ที่อยู่
จำนวนคน
ชุมชน
วิสาหกิจชุมชนและผู้สนใจในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบึงบา บึงกาสาม บึงบอน และพื้นที่เทศบาลนครรังสิต
103
service Form
ชื่อโครงการบริการวิชาการ
ประเภท
ประเภทบริการวิชาการ
ประเภทงบประมาณ
ให้เปล่า
จัดเก็บรายได้
วงเงินงบประมาณ
แหล่งงบประมาณ
เจ้าของทุน
องค์ความรู้
บรรยายหัวข้อ การจัดทำงบการเงินและการประเมินผลทางการเงิน บรรยายหัวข้อ การบริหารขนส่งสินค้า และการบริหารธุรกิจระหว่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ บรรยายหัวข้อ เศรษฐกิจไทยในปัจจุบันและการปรับตัววิสาหกิจชุมชน เพื่อตอบสนองต่อความเป็นสากล บรรยายหัวข้อ การจัดการสินค้าคงเหลืออย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับวิสาหกิจชุมชน บรรยายหัวข้อ การวางแผนธุรกิจโดยใช้ Business Model Canvas ฝึกปฏิบัติการวางแผนธุรกิจโดยใช้ Business Model Canvas บรรยายหัวข้อ การใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการขายสินค้า ฝึกปฏิบัติการทำสติกเกอร์ไลน์
เป้าหมาย
ผู้ประกอบกิจการประเภทวิสาหกิจชุมชน ของชุมชนบึงบา บึงกาสาม และบึงบอน และเทศบาลนครรังสิต มีการวางแผนในการดำเนินงานอย่างเป็นระบบมากขึ้น มีความเข้าใจกระบวนการวางแผนทางธุรกิจมากขึ้น ทั้งทางด้านบัญชี การเงิ
การบูรณาการ
บรูณาการกับการเรียนการสอนรายวิชา กลยุทธ์สำหรับธุรกิจระหว่างประเทศ บรูณาการกับการเรียนการสอนรายวิชา หลักการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน บรูณาการกับการเรียนการสอนรายวิชา การเขียนโครงการธุรกิจภาษาอังกฤษ บรูณาการกับการเรียนการสอนรายวิชา วิชา การลำเลียงวัสดุและการบรรจุภัณฑ์ บรูณาการกับการเรียนการสอนรายวิชา การศึกษาความเป็นไปได้เพื่อโครงการตลาด บรูณาการกับการเรียนการสอนรายวิชา การบริหารธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม บรูณาการกับการเรียนการสอนรายวิชา การบัญชีชั้นกลาง 1 บรูณาการกับการเรียนการสอนรายวิชา ปฏิบัติการทางการเงิน บรูณาการกับการเรียนการสอนรายวิชา การพัฒนาธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ บรูณาการกับการเรียนการสอนรายวิชา วิชา เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ
ผลกระทบ
เป็นการให้บริการวิชาการ โดยการลงพื้นที่ 4 ชุมชน ได้แก่ชุมชนบึงบา บึงกาสาม และบึงบอน อำเภอหนองเสือ และเทศบาลนครรังสิต เพื่อเพิ่มศักยภาพด้านการแข่งขันอย่างเป็นระบบและยั่งยืน โดยคณะบริหารธุรกิจได้นำองค์ความรู้ จำนวน 6 องค์ความรู้ ได้แก่ 1. องค์ความรู้ทางด้านบัญชีและการเงิน 2. องค์ความรู้ทางด้านปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3.องค์ความรู้ทางด้านการบริหารองค์กร 4.องค์ความรู้ทางด้านการจัดการโลจิสติกส์ 5.องค์ความรู้ทางด้านโซเชี่ยลมีเดีย และจัดทำ line sticker เพื่อพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายออนไลน์ 6.องค์ความรู้ทางด้านการทำธุรกิจระหว่างประเทศ เพื่อให้ประกอบการนำองค์ความรู้ทั้งหมดมาบูรณาการในการจัดทำแผนธุรกิจของตนเองโดยใช้เครื่องมือคือ "Business Model Canvas" เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาปรับปรุงแผนธุรกิจของตนเองให้ดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ และพัฒนาไปได้อย่างต่อเนื่
ผลลัพธ์
ชุมชนบึงบา จากการลงพื้นที่บริการวิชาการในปีที่ผ่านมาของคณะบริหารธุรกิจ ผู้เข้าร่วมสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับปรุงแผนการเพิ่มรายได้และลดต้นทุนในการดำเนินธุรกิจ จำนวน 1 แผน คือ สวนกล้วยกาญจนา จังหวัดปทุมธานี ซึ่งผลของแผนการเพิ่มรายได้และลดต้นทุน พบว่าสวนกล้วยกาญจนามีรายได้เพียงพอกับต้นทุนการผลิต และผู้เข้าร่วมยังได้รับ Web site จำนวน 1 Web site และ Clip video เพื่อเป็นการเพิ่มช่องทางประชาสัมพันธ์ธุรกิจมากขึ้น ทำให้การบริการวิชาการในปีนี้ คณะฯ สามารถนำมาต่อยอด ในการทำงานวิจัย และการบริการวิชาการ การเรียนภาคปฏิบัติของนักศึกษาได้ ดังนี้ คุณวัฒนา กิตติวัฒนา (สวนเราเกษตรอินทรีย์ คลองเก้า) 1. หลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน และสาขาวิชาการบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ เป็นการบริการวิชาการ หลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน และสาขาวิชาการบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ โดยดร.วิญญู ปรอยกระโทก อาจารย์ชุลีกร ชูโชติถาวร และนักศึกษาหลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน ที่เรียนในรายวิชาการลำเลียงวัสดุและการบรรจุภัณฑ์ ได้ลงพื้นที่บริการวิชาการ ที่ "สวนเราเกษตรอินทรีย์" ตำบลบึงบา อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี โดยการให้ความรู้ คำแนะนำ และการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ผักออร์แกนิค ให้กับกลุ่มเกษตรกร เพื่องานด้านการขนส่งและกระจายสินค้า โดยการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้สามารถรวมหน่วยสินค้าได้ ไม่ทำให้สินค้าเสียหายระหว่างขนส่ง ขนส่งในระยะทางที่ไกลขึ้น และต้นทุนที่ควบคุมได้ 2. สาขาวิชาการจัดการ 2.1 เป็นการลงพื้นที่เพื่อสำรวจของสาขาวิชาการจัดการ โดย ผศ.ดร.เบญจวรรณ ศฤงคาร และนักศึกษาสาขาวิชาการจัดการ ได้ลงพื้นที่เพื่อสำรวจ "สวนเราเกษตรอินทรีย์" ตำบลบึงบา อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี สำหรับการเรียนภาคปฏิบัติในรายวิชาการบริหารธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 2.2 งานวิจัย เรื่องรูปแบบการสื่อสารตลาดออนไลน์เพื่อสร้างแบรนด์ของสินค้าเกษตรอินทรีย์ กรณีศึกษาชุมชนกลุ่มเกษตรกรอำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี โดย ผศ.ดร.เบญจวรรณ ศฤงคาร และผศ.ดร.สลิตตา สาริบุตร โดยการให้ความรู้เรื่อง การสร้างแบรนด์ การตลาดบนสื่อออนไลน์ และนวัตกรรมที่ช่วยให้เกษตรกรมีช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรอินทรีย์ เพื่อให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น เทศบาลนครรังสิต เนื่องจากการบริการวิชาการของคณะบริหารธุรกิจ ในปีนี้เป็นการลงพื้นที่บริการวิชาการในปีแรก จึงเป็นการจัดเก็บฐานข้อมูลของผู้เข้าร่วมอบรม พบว่ามีจำนวน 4 วิสาหกิจชุมชนที่มีศักยภาพ และได้จัดทำ Business Model Canvas ที่พร้อมต่อยอดในเชิงธุรกิจ 1. กลุ่มผู้ผลิตผักกาดดอง 2. กลุ่มผู้ผลิตผลิตภัณฑ์จากเศษผ้า 3. กลุ่มผู้ผลิตเครื่องหนัง 4. กลุ่มผู้ปลูกผักอินทรีย์