การบริการวิชาการ
รายชื่อผู้มีส่วนร่วม
ชื่อ
หน้าที่
นพปฎล สุวรรณทรัพย์
หัวหน้าโครงการ
กลุ่มเป้าหมาย
ประเภทเป้าหมาย
เป้าหมาย
ที่อยู่
จำนวนคน
ฝ่ายวิชาการโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์
ฝ่ายวิชาการโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์
52
โรงเรียนเฉพาะทางความพิการ
โรงเรียนเฉพาะทางความพิการ
48
ศูนย์การศึกษาพิเศษ
ศูนย์การศึกษาพิเศษ
77
service Form
ชื่อโครงการบริการวิชาการ
ประเภท
ประเภทบริการวิชาการ
ประเภทงบประมาณ
ให้เปล่า
จัดเก็บรายได้
วงเงินงบประมาณ
แหล่งงบประมาณ
เจ้าของทุน
องค์ความรู้
กิจกรรมที่ 1 จัดทำและเสนอแผนการดำเนินงานอย่างละเอียด โดยจัดประชุมคณะดำเนินงาน จำนวน ๑ ครั้ง เพื่อนำเสนอแผนการดำเนินงานทุกกิจกรรมโดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ - ภาพรวมการดำเนินโครงการ - แผนการทำงานพร้อมตารางกิจกรรม - แผนการจัดประชุมเสวนาวิชาการ - แผนการจัดประชุมสัญจร - รายชื่อผู้เชี่ยวชาญและวิทยากร - รายชื่อวิทยากรกระบวนการ - รายชื่อฝ่ายบริหารจัดการ กิจกรรมที่ 2 จัดตั้งคณะดำเนินงานและผู้เชี่ยวชาญ จัดตั้งคณะทำงานโดยมีผู้เกี่ยวข้องและผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ เพื่อวางแผนดำเนินการศึกษาและจัดการระดมความคิดในรูปแบบการประชุมที่เหมาะสม เช่นการประชุมในสถานศึกษาเป้าหมาย การประชุมผ่านระบบออนไลน์ หรือการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) เป็นต้น นอกจากนี้ต้องมีการสำรวจความต้องการในเชิงปริมาณผ่านเครื่องมือที่เหมาะสม จำนวน 3 ครั้ง โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ ครั้งที่ 1 ประชุมเตรียมการจัดเวทีสัญจร พร้อมรายละเอียดการจัดประชุม และกำหนดการในแต่ละพื้นที่ พร้อมรูปแบบการประชุมเชิงปฏิบัติการ ที่จะเปิดให้ผู้เข้าประชุมสามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างมีส่วนร่วมและสร้างสรรค์ ครั้งที่ 2 ประชุมเตรียมการจัดทำเว็บไซต์และเครื่องมือในการระดมความคิดและสำรวจความคิดเห็นออนไลน์ โดยจะมีการเสนอโครงสร้างเว็บไซต์ และการออกแบบจำนวน 2 แบบพร้อมด้วยรายละเอียดเครื่องมือการใช้งาน ครั้งที่ 3 ประชุมเตรียมความพร้อมในการจัดงานเสวนาวิชาการ โดยจะมีการนำเสนอรายละเอียดในการจัดประชุม รายชื่อวิทยากร กำหนดการ พร้อมด้วยรูปแบบการตกแต่งสถานที่ กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมเวทีสัญจร กิจกรรมเวทีสัญจรเป็นเวทีระดมความคิดเห็นและหาข้อสรุป พร้อมข้อมูลแบบสอบถามออนไลน์มาประกอบเวทีการระดมความคิด โดยจะมีการจัดเวทีสัญจรแบ่งตามภูมิภาคทั่วประเทศไทย ๔ ครั้งในรูปแบบ On-site และ Online แบ่งเป็นดังนี้ (1) ภาคกลาง (2) ภาคเหนือ (3) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (4) ภาคใต้ การจัดเวทีสัญจร มีรูปแบบการจัดเวที ดังรายละเอียดต่อไปนี้ - รูปแบบกิจกรรม การระดมความคิดเชิงปฏิบัติการ (Workshop) เพื่อให้ทราบถึงความต้องการของกลุ่มนักเรียนผู้พิการและด้อยโอกาส โดยเชิญตัวแทนนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมจากโรงเรียนภายใต้การกำกับดูแล - จัดเตรียมวิทยากรกระบวนการ ในการจัดระดมความคิด และมีการออกแบบกระบวนการในการประชุมให้เหมาะสมกับผู้เข้าร่วม - จัดเตรียมข้อสรุป จากการประชุมให้เสร็จสิ้นหลังการประชุม - จัดให้มีการบันทึกภาพและวิดีโอ สำหรับการบันทึกการระดมความคิด และเผยแพร่ผ่านช่องทางต่างๆ ที่เหมาะสม กิจกรรมที่ 4 กำหนดรายละเอียดของหลักสูตร หลังจากมีการจัดกิจกรรมตามลำดับที่ 1 – 3 เสร็จสิ้นแล้ว ต้องมีการรวบรวมข้อมูลจากการจัดระดมความคิดในเวทีต่างๆ โดยมีข้อสรุปที่เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรทักษะยุคใหม่สำหรับเด็กผู้พิการและเด็กด้อยโอกาส โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ รายละเอียดสมรรถนะหลัก (Core competency) เพื่อให้การพัฒนาหลักสูตรและบทเรียนที่เหมาะสมกับนักเรียนผู้พิการและด้อยโอกาส สมรรถนะหลักซึ่งเป็นคุณสมบัติและทักษะที่สำคัญในการเรียนและในชีวิตประจำวันที่สำคัญ และการประกอบอาชีพ สมรรถนะหลักช่วยพัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ในทางที่มีคุณภาพและเติบโตได้อย่างเต็มตามศักยภาพของแต่ละบุคคล นอกจากนี้ยังมีความสำคัญในการพัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อการปรับตัวและเป็นผู้เรียนที่มีความสามารถในอนาคตได้อีกด้วย ซึ่งในจะมีสมรรถนะหลัก ที่กำหนดเป็นพื้นฐาน และมีเพิ่มเติมจากการระดมความคิดในเวทีต่างๆ สำหรับสมรรถนะหลักที่พึ่งมีเช่น 1. การเรียนรู้และการคิดอย่างสร้างสรรค์: สมรรถนะในการเรียนรู้และการคิดอย่างสร้างสรรค์ช่วยให้นักเรียนสามารถจัดการกับข้อมูลและสร้างความเข้าใจใหม่ได้ นอกจากนี้ยังช่วยส่งเสริมการคิดอย่างครอบคลุมและการแก้ปัญหาในสถานการณ์ที่ต้องการความคิดสร้างสรรค์ 2. การทำงานเป็นทีม: การทำงานเป็นทีมส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาทักษะสังคม นักเรียนที่มีความสามารถในการทำงานเป็นทีมสามารถเรียนรู้จากผู้อื่นได้และสามารถแบ่งปันความรู้และทักษะกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3. การเรียนรู้เอง: การที่นักเรียนสามารถเรียนรู้เองได้เป็นสิ่งสำคัญ เขาควรมีความรู้ในการกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ การวางแผน และการจัดการเวลา เพื่อให้สามารถเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพและเพิ่มสมรรถนะได้อย่างมากที่สุด 4. การสื่อสาร: การสื่อสารเป็นทักษะสำคัญที่ช่วยให้นักเรียนสามารถแสดงความคิดเห็น และเข้าใจข้อมูลที่ได้รับได้อย่างถูกต้องและชัดเจน การสื่อสารที่ดียังช่วยส่งเสริมการทำงานเป็นทีมและการสร้างความเข้าใจร่วมกันในกระบวนการเรียนรู้ โดยทักษะนี้จะถือว่าเป็นทักษะที่สำคัญสำหรับเด็กพิการ 5. การคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหา: สมรรถนะในการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหาช่วยให้นักเรียนสามารถจัดการกับปัญหาที่ซับซ้อนและมีความยุ่งยากได้ นักเรียนควรพัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูล คิดอย่างเป็นระบบ และหาทางแก้ไขปัญหาอย่างมีเหตุผล 6. การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ: ในโลกที่เต็มไปด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ การที่นักเรียนมีทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเรียนรู้ การค้นคว้าข้อมูล และการสื่อสารเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อเตรียมพร้อมในการเผชิญกับอุตสาหกรรมและสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะต้องเป็นเทคโนโลยีที่เด็กพิการและเด็กด้อยโอกาสเข้าถึงได้เพื่อเป็นแกนหลักสำคัญในการศึกษาและเตรียมรายละเอียดของทักษะและหลักสูตรที่พึงมี
เป้าหมาย
1.เพื่อให้สำนักบริหารการศึกษาพิเศษมีรายละเอียดเกี่ยวกับทักษะและหลักสูตรที่จำเป็นสำหรับนักเรียนที่เป็นเด็กผู้พิการและด้อยโอกาส ให้สามารถเข้าถึงบริการทางการศึกษาอย่างเท่าเทียม ทั่วถึงและมีคุณภาพ ด้วยการ
การบูรณาการ
-
ผลกระทบ
-
ผลลัพธ์
1. สำนักบริหารการศึกษาพิเศษมีรายละเอียดเกี่ยวกับทักษะและหลักสูตรที่จำเป็นสำหรับนักเรียนที่เป็นเด็กผู้พิการและด้อยโอกาส เพื่อเป็นประโยชน์ในการนำไปต่อยอดการศึกษาของเด็กกลุ่มนี้ต่อไปในอนาคต 2. นักเรียนผู้พิการและด้อยโอกาสได้รับการยกระดับคุณภาพชีวิตและการประกอบอาชีพ จากการศึกษาเพิ่มเติมในเรื่องของการพัฒนาทักษะชีวิต (Life skills) 3. บุคลากรของโรงเรียนในกำกับของสำนักมีความรู้ความเข้าใจและมีศักยภาพในการเสริมสร้างทักษะชีวิตให้กับนักเรียนต่อไป 4.นักเรียนผู้พิการและด้อยโอกาสมีทักษะชีวิตทั้ง 10 ทักษะตามข้อกำหนดขององค์การอนามัยโลก (WHO)